1.ชื่อโรค VS ชื่อเชื้อ
– ชื่อโรคคือ COVID-19 โดยมาจาก COVI = corona virus, D = disease, 19 = 2019
– ชื่อเชื้อที่ก่อโรคอย่างเป็นทางการ คือ SARS-CoV-2 (ชื่อไม่ทางการคือ 2019-nCoV)
2.ต้นตอมาจากไหน
– โดยสรุปคือมีการทำการทดลองแล้วพบว่าเชื้อของเจ้าไวรัสตัวนี้มีรหัสทางพันธุกรรมคล้ายกับของเชื้อที่พบในค้างคาวถึง 89.1%
– ดังนั้นจึงเป็นที่เชื่อกันว่าเชื้อ SARS-CoV-2 นี้มีแหล่งกำเนิดมาจากค้างคาวนั่นเอง
– แต่ก็มีการศึกษาต่อไปอีกว่าเชื้อในตัวลิ่น(หรือนิ่ม) ก็มีลักษณะพันธุกรรมคล้ายกับเชื้อไวรัสตัวนี้เช่นเดียวกัน แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเกิดจากตัวนิ่มสู่คน หรือเป็นจากตัวนิ่มสู่สัตว์อื่นๆก่อนแล้วค่อยแพร่มาสู่คน
3.วิธีการแพร่กระจาย
– แพร่กระจายเชื้อทางอากาศ(airborne)ผ่านฝอยละอองขนาดใหญ่(droplet)และฝอยละอองขนาดเล็ก(aerosol) เช่น การไอ จาม ของมนุษย์ หรือการหลั่งสารคัดหลั่งจากปากของสัตว์
– จะเห็นได้ว่าจุดสำคัญคือมีละอองเข้าไปในปอดของเรานั่นเอง
– คนที่ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้ โดยพบว่าในเครื่องบินจากอู่ฮั่นมาประเทศเยอรมนีมีชาวจีน 2 คนจาก 126 คนที่แม้ไม่มีอาการแต่ก็ยังมีผลเลือดเป็นบวก
4.ทำไมต้องกักตัว 14 วัน
– ระยะฟักตัวของเชื้อจริงๆคือ 0-24 วัน แต่โดยทั่วไปแล้วเชื้อจะฟักตัวเฉลี่ยที่ประมาณ 14 วัน นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ว่าบุคคลที่ไปเที่ยวต่างประเทศในกลุ่มเสี่ยงทำไมถึงขอให้กักตัวอยู่ในบ้านเป็นเวลา 14 วัน
– แต่ตามมาตรการจริงๆแล้วจะถือว่าบุคคลนั้นไม่ติดเชื้อและไม่แพร่เชื้อต่อเมื่อเวลาผ่านไป 24 วันแล้วไม่มีอาการไข้หรือไอต่างหาก
5.อาการของคนติดเชื้อจะมีอะไรบ้าง
– สามารถไม่มีอาการไปจนถึงมีเพียง ไอ, ไข้และไอมีเสมหะ, บางรายมีไข้ ไอ หอบเหนื่อย และหากป่วยอย่างรุนแรงอาจถึงขั้นหอบหนักจนการหายใจล้มเหลวและช๊อคได้
6.แพทยสภาได้กำหนดหลักการใส่หน้ากากอนามัยในบ้านและที่ชุมชน โดยใช้ได้กับในประเทศไทยที่ยังเป็นพื้นที่ไม่แพร่ระบาดดังนี้
– กลุ่มที่ 1 : ผู้ป่วยที่มี ไข้ หรือ ไอ หรือผู้สัมผัสผู้ป่วยแล้วคล้ายจะป่วย ไอ ให้สวมหน้ากากอนามัย “ตลอดเวลา”, จำกัดตนเองในบ้าน และแนะนำให้ไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาเชื้อ
– กลุ่มที่ 2 : ผู้สัมผัสผู้ป่วยหรือสงสัยว่าสัมผัสใกล้ชิด และไม่มีอาการใดๆ สำหรับกลุ่มนี้ให้สวมหน้ากากอนามัยและกักตัวอยู่ในบ้านไว้ก่อนเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน และหากจำเป็นจะต้องออกไปข้างนอกจริงๆให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
– กลุ่มที่ 3 : ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี หรือ ผู้ที่มีโรคประจำตัวคือ โรคปอด หลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง มีภูมิต่ำจากการได้รับยาเคมีบำบัดหรือยากดภูมิคุ้มกัน สำหรับกลุ่มนี้เมื่ออยู่บ้านไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัย แต่เมื่อออกนอกบ้านให้สวมหน้ากากนามัยตลอดเวลา โดยเฉพาะเวลาเข้าไปอยู่ในที่ชุมชน เช่น ห้างสรรพสินค้า ในรถโดยสารต่างๆ โดยควรเน้นเป็นการใส่ N-95
– กลุ่มที่ 4 : ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปีและไม่มีโรคประจำตัว แข็งแรงดี ในกลุ่มนี้ไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัย
7.หน้ากากอนามัยมีประสิทธิภาพขนาดไหน?
– หากใส่ได้ถูกต้อง แน่นกระชับติดใบหน้าแล้ว สามารถลดการแพร่กระจายของฝอยละอองใหญ่และเล็กได้ถึง 80%
8.การป้องกันด้วยวิธีอื่นๆ
– หลีกเลี่ยงสัมผัสคนป่วย : ในที่นี้หมายถึงคนที่ดูมีอาการน้ำมูก ไอ ครับ ในความเป็นจริงถ้าเราต้องอยู่ในที่ชุมชนแออัดจริงๆ ตามคำแนะนำของแพทยสภาคือห่างจากผู้ป่วยหรือคนที่มีอาการ 2 เมตรครับ เราอาจจะเลือกวิธีค่อยๆออกห่างออกจากเขาก็ได้
– การสวมหน้ากากอนามัย : หากอยู่ในบ้านที่ไม่มีคนไม่สบาย หรือไม่มีความเสี่ยงเลยจริงๆอาจจะไม่ใส่ก็ได้ครับ แต่ส่วนตัวผมเองคิดว่าเวลาที่เราออกไปข้างนอกยังไงก็ต้องสัมผัสกับเชื้อโรคอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าที่ๆนั้นจะแออัดคนเยอะหรือคนน้อยก็ตามก็ควรใส่หน้ากากอนามัยกันไว้ก่อน อย่าลืมว่ากันไว้ดีกว่าแก้นะครับ
– ล้างมืออย่างถูกขั้นตอนอย่างน้อย 20 วินาที : เมื่ออยู่ในที่ชุมชนแล้วได้นำมือไปจับสิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นธนบัตร สิ่งของต่างๆ ขอให้อดใจอย่าพึ่งนำมาสัมผัสกับตัวเราโดยเฉพาะบริเวณหน้าของเราแล้วไปล้างมือให้ถูกต้องก่อนครับ ลองจินตนาการตามว่าหากมีคนที่ติดเชื้อออกนอกบ้าน จามใส่มือ 1 ครั้งแล้วนำมือจับราวบันไดเลื่อน เผอิญวันนั้นคุณเดินต่อเขาพอดีแล้วจับราวบันไดเลื่อนต่อจากเขาใกล้ๆพอดี จึงเป็นเหตุผลครับว่าทำไมการอดใจไม่นำมือมาสัมผัสกับตัวเราแล้วรอไปล้างมือก่อนถึงปลอดภัยครับ
9.ประเด็นของคำว่า “ไม่เป็นอะไรหรอก”
– กักตนเองจริงๆ : สำหรับข้อนี้ผมเห็นมีประเด็นดราม่าเกิดขึ้นเมื่อมีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งมีความเสี่ยงแต่ไม่ยอมกักตนเองในบ้าน ยังออกไปที่สาธารณะต่างๆ ดังนั้นหากท่านผู้อ่านได้เห็นบทความนี้แล้วก็อยากเชิญชวนให้ช่วยกันเห็นความสำคัญนี้และกักตัวของท่านเองจริงๆหากมีความเสี่ยง หรือช่วยเตือนไปยังบุคคลที่มีความเสี่ยงที่ท่านรู้จัก เบื่อหน่อย อึดอัดหน่อยที่ต้องกักตนเองนาน แต่อย่างน้อยก็เป็นการช่วยทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้นนะครับ